คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ขอแสดงความยินดีกับ ดร.ณรงค์ศักดิ์ มั่นคง หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา ที่ได้การตีพิมพ์ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ Q1 และ Q2 จำนวน 2 เรื่อง
1.
Short term effect of tetrahydrocurcumin on adipose angiogenesis in very high-fat diet-induced obesity mouse model. Bhornprom Yoysungnoen, Umarat Srisawat, Pritsana Piyabhan, Naphatsanan Duansak, Nattapon Sookprasert, Nakorn Mathuradavong, Natwadee Poomipark, Narongsuk Munkong, Pholawat Tingpej, Chatchawan Changtam. Front. Nutr. 2023; 10: 2023. (Impact factor = 6.59 และ Q1) https://doi.org/10.3389/fnut.2023.1221935
โดยมี รศ.ดร.พรพรหม ย่อมสูงเนิน สาขาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เป็น first และ corresponding author
งานวิจัยนี้ พบว่า tetrahydrocurcumin เมแทบอไลต์หลักของ curcumin สารสำคัญจากขมิ้น มีฤทธิ์ลดการสร้างหลอดเลือดใหม่และภาวะอักเสบในเนื้อเยื่อไขมันของหนูที่มีภาวะอ้วน ผ่านการยับยั้งการแสดงออกของโปรตีนที่เกี่ยวข้อง เช่น VEGF, MMP และ TNF-? อาจต่อยอดในงานวิจัยระดับคลินิกหรือเชิงนวัตกรรมต่อไป
2.
Effects of Pogonatherum paniceum (Lamk) Hack extract on anti-mitochondrial DNA mediated inflammation by attenuating Tlr9 expression in LPS-induced macrophages. Rungthip Thongboontho, Kanoktip Petcharat, Narongsuk Munkong, Chakkraphong Khonthun, Atirada Boondech, Kanokkarn Phromnoi, Arthid Thim-Uam. Nutr Res Pract. 2023;17(5):827-843. (Impact factor = 1.992 และ Q2) doi: 10.4162/nrp.2023.17.5.827
โดยมีอาจารย์รุ่งทิพย์ ทองบุญโทและ ผศ.ดร.อาทิตย์ ทิมอ่วม สาขาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ม.พะเยา เป็น first และ corresponding author ตามลำดับ
งานวิจัยนี้ พบว่า สารสกัดจากไผ่จืดที่มี phenolic, gallic acid, quercetin และอื่น ๆ มีฤทธิ์ต้านอักเสบและต้านอนุมูลอิสระในเซลล์แมคโครฝาจ ผ่านการการยับยั้ง Tlr9 signaling และ mitochondrial DNA leakage มีผลทำให้สามารถปรับการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้อง เช่น p22phox, iNOS, IL-6, TNF-?, IL-1?, และ IFN-? ได้ อาจต่อยอดในงานวิจัยระดับ in vivo หรือพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป