ยินดีต้อนรับสู่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

  • 0 5446 666 ต่อ 7020

  • medicine@up.ac.th

  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
    19/1 หมู่ 2 ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์


ชื่อหลักสูตร
ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science in Emergency Medical Operation
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์)
ชื่อย่อภาษาไทย : วท.บ. (ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Emergency Medical Operation)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : B.Sc. (Emergency Medical Operation)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
140 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี
ภาษาที่ใช้
ใช้ภาษาไทย




โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา เกณฑ์มาตรฐานของ สกอ. หลักสูตรตามเกณฑ์ อสป. หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต 30 หน่วยกิต 30 หน่วยกิต 30 หน่วยกิต
1.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไปบังคับ 30 หน่วยกิต 30 หน่วยกิต
1.2 หมวดวิชาศึกษาทั่วไปเลือก 9 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต 104 หน่วยกิต 104 หน่วยกิต 104 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 40 หน่วยกิต 40 หน่วยกิต 40 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาเอก 64 หน่วยกิต 64 หน่วยกิต 64 หน่วยกิต
3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต 6 หน่วยกิต 6 หน่วยกิต 6 หน่วยกิต
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต 140 หน่วยกิต 140 หน่วยกิต 140 หน่วยกิต

เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร บัณฑิตจะเป็นผู้ที่
1. แสดงออกซึ่งจิตอาสาและปฏิบัติตามหลักคุณธรรมจริยธรรม เป็นแบบอย่างที่ดี มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
2. สามารถประยุกต์ความรู้ในศาสตร์ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนางานด้านการแพทย์ฉุกเฉินที่สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบท ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถประยุกต์ความรู้ในศาสตร์ทางการแพทย์ เพื่อใช้ในการวินิจฉัย รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ ป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน อย่างเป็นองค์รวมสมเหตุผลและปลอดภัย
4. แสดงภาวะผู้นาในการจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉินทั้งในและนอกสถานบริการ
5. สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
6. สามารถสื่อสาร และทางานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
1. นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (Paramedic) ในสถานพยาบาลทั้งภาครัฐ และเอกชน
2. นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ
3. นักวิจัยด้านการแพทย์ฉุกเฉินและปฏิบัติงานด้านวิชาการในสถาบันการศึกษาและสถาบันฝึกอบรมต่าง ๆ ทั่วประเทศ
4. นักวิชาการและหรือผู้บริหารจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉินในสถานการณ์สาธารณภัย ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสถาบัน/ สานัก/ หน่วยงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน
5. นักวิชาการสาธารณสุขในสถานพยาบาล ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
28,000 บาท/ภาคการศึกษา



การเข้าศึกษา
รับนิสิตไทยหรือต่างชาติที่ใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มีความร่วมมือกับกรมการแพทย์ และโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
1.เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยพะเยาว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2.มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมของวิชาชีพไม่ต่ำกว่า 2.00
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์) มหาวิทยาลัยพะเยา


การรับรองหลักสูตร

การพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร


1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 เปิดสอนภาคการศึกษาภาคต้น 2559 ปีการศึกษา 2559 ปรับปรุงจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชกิจฉุกเฉิน หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2553

2. คณะกรรมการคณะแพทยศาสตร์ เห็นชอบหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 1 วันที่ 22 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2558

3. คณะกรรมการวิชาการ มหาวิทยาลัยพะเยา เห็นชอบหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 9 (2558) วันที่ 16 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2558

4. คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยพะเยา เห็นชอบหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 102 (3/2559) วันที่ 9 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2559

5. สภามหาวิทยาลัยพะเยา อนุมัติหลักสูตร ในการประชุมครั้งที่ 3/2559 วันที่ 3 เดือน เมษายน พ.ศ. 2559

6. สภาวิชาชีพ คณะอนุกรรมการรับรององค์กรและหลักสูตรการศึกษาและอบรมผู้ปฏิบัติการ และการให้ประกาศนียบัตรหรือเครื่องหมาย และวิทยฐานะแก่ผู้ผ่านการศึกษาและฝึกอบรม (อศป.) และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รับรองหลักสูตรในการประชุมครั้งที่ 1/2560 วันที่ 27 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2559

* หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559

การพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร


1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ หลักสูตรปรับปรุงพ.ศ. 2564 เปิดสอนภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2564 ปรับปรุงจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559

2. คณะกรรมการประจาคณะแพทยศาสตร์ เห็นชอบหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 8/2563 วันที่ 25 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2563

3. คณะกรรมการวิชาการ มหาวิทยาลัยพะเยา เห็นชอบหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 14 เดือน มกราคม พ.ศ. 2564

4. คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพะเยา เห็นชอบหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 23 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

5. สภามหาวิทยาลัยพะเยา อนุมัติหลักสูตร ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 วันที่ 6 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2564

6. สภาวิชาชีพ สานักรับรองและกำกับมาตรฐาน (สรม.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พิจารณาแลวเห็นควร แจ้งการรับทราบ การดาเนินการ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564 ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เมื่อวันที่ 2 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2564

* หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564
* การรับรองหลักสูตร
© 2021 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา Cookie preferences   เพิ่มข่าว  
สำหรับเจ้าหน้าที่