ยินดีต้อนรับสู่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

  • 0 5446 666 ต่อ 7020

  • medicine@up.ac.th

  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
    19/1 หมู่ 2 ต.แม่กา อ.เมือง จ.พะเยา 56000

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต


ชื่อหลักสูตร
ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Doctor of Medicine Program
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย : แพทยศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อภาษาไทย : พ.บ.
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ : Doctor of Medicine
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : M.D.
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
251 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรระดับที่ 2 หลักสูตรระดับปริญญาตรี6 ปี
ใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในการจัดการเรียนการสอน




โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา เกณฑ์มาตรฐานของ สกอ. มคอ.1 แพทยศาสตร์ พ.ศ.2561 หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2553 หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่าว 30 หน่วยกิต 30 หน่วยกิต 30 หน่วยกิต 30 หน่วยกิต
1.1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไปบังคับ 21 หน่วยกิต 30 หน่วยกิต
1.2 หมวดวิชาศึกษาทั่วไปเลือก 9 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 108 หน่วยกิต 156 หน่วยกิต 215 หน่วยกิต 214 หน่วยกิต
2.1 กลุ่มวิชาเฉพาะทางการแพทย์ 144 หน่วยกิต 203 หน่วยกิต 194 หน่วยกิต
2.2 กลุ่มวิชาเฉพาะที่ส่งเสริมสมรรถนะที่เป็นจุดเน้นของสถาบันหรือส่งเสริมศักยภาพ ตามความสนใจของผู้เรียน 12 12 20
2.2.1 กลุ่มวิชาเฉพาะที่ส่งเสริมสมรรถนะที่เป็นจุดเนน้นของสถาบัน - 8
2.2.2 กลุ่มวิชาส่งเสริมศักยภาพตามความสนใจของผู้เรียน 12 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
3. หมวดเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต 6 หน่วยกิต 6 หน่วยกิต 6 หน่วยกิต
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 180 หน่วยกิต 192 หน่วยกิต 251 หน่วยกิต 250 หน่วยกิต

เมื่อสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร บัณฑิตจะเป็นผู้ที่
1. มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรมจริยธรรม และยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ
2. มีเจตคติที่ดี มีความเสียสละและจิตอาสา ในฐานะแพทย์และสมาชิกในสังคมอย่างเหมาะสม
3. สามารถประยุกต์ความรู้ในศาสตร์ทางการแพทย์ เพื่อใช้ในการวินิจฉัย รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ ป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน อย่างเป็นองค์รวม สมเหตุผลและปลอดภัย
4. ใช้ภูมิปัญญาในการแก้ไขปัญหาสุขภาพเชิงพื้นที่ และพัฒนางานด้านการแพทย์ได้อย่างเป็นระบบ
5. สื่อสารและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ สามารถปฏิบัติงานร่วมกับบุคลากร ทางด้านสุขภาพ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. เป็นผู้แสวงหาความรู้ใหม่และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา
1. แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ได้แก่ แพทย์ในระบบราชการ แพทย์ในโรงพยาบาล หรือคลินิกเอกชน สถานประกอบการส่วนตัว
2. แพทย์นักวิจัยหรือนักวิชาการ
3. อาจารย์ในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
50,000 บาท/ภาคการศึกษา
การรับเข้าศึกษา
1. โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กลุ่มแพทย์เพื่อชุมชน (Community Track)
2. โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กลุ่มลดความเหลื่อมล้ำ (Inclusive Track)
3. โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท กลุ่มสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรีลาเรียน (Strengthening Track)



การจัดเรียนการสอน
1. นิสิตชั้นปีที่ 1-3 จะเรียนรายวิชาระดับเตรียมแพทย์และปริคลินิก (Pre-medicine และ Pre-clinic)
จัดการเรียนการสอน ณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา
2. นิสิตชั้นปีที่ 4-6 จะเรียนรายวิชาระดับคลินิก (Clinic)
จัดการเรียนการสอน ณ สถาบันร่วมผลิตแพทย์ ซึ่งประกอบด้วยโรงพยาบาลนครพิงค์ และโรงพยาบาลพะเยา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
1.เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยพะเยาว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2.มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมของวิชาชีพไม่ต่ำกว่า 2.00
การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
ให้ปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยพะเยา


การรับรองหลักสูตร

การพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร


1. หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2553 เปิดสอนภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2554

2. คณะกรรมการวิชาการ มหาวิทยาลัยพะเยา เห็นชอบหลักสูตร เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2553

3. คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยพะเยา เห็นชอบหลักสูตร เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553

4. คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยพะเยา เห็นชอบหลักสูตร เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2553

5. คณะกรรมการแพทยสภา รับรองหลักสูตร เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2553

* หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต พ.ศ. 2553

การพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร


1. หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 เปิดสอน ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2565 ปรับปรุงมาจาก หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2553

2. คณะกรรมการประจำคณะแพทยศาสตร์เห็นชอบหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 8/2564 วันที่ 4 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2564

3. คณะกรรมการวิชาการ มหาวิทยาลัยพะเยา เห็นชอบหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 10/2564 วันที่ 10 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2564

4. คณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัยพะเยา เห็นชอบหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 4/2564 วันที่ 26 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2564

5. สภามหาวิทยาลัยพะเยาอนุมัติหลักสูตร ในการประชุม ครั้งที่ 7/2564 วันที่ 25 เดือน กันยายน พ.ศ. 2564

6. สภาวิชาชีพ แพทยสภา รับรองหลักสูตร ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 วันที่ 10 เดือน มีนาคม พ.ศ.2565

* หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565
© 2021 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา Cookie preferences   เพิ่มข่าว  
สำหรับเจ้าหน้าที่